วัดราชนัดดา เขตพระนคร จ.กรุงเทพฯ
|
หากท่านได้นั่งรถ หรือขับรถ ผ่านบริเวณถนนราชดำเนิน คงจะต้องสะดุดตากับความงดงามของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเห็นได้ชัดมาแต่ไกล ซึ่งทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราก็ได้ไปสืบเสาะค้นหาข้อมูลของสิ่งปลูกสร้างอันตระการตานี้เพื่อนำมาเล่าสู่กันฟัง “วัดราชนัดดา” เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงสร้างขึ้นและเป็นวัดประจำรัชกาล เดิมอยู่ด้านหลังของศาลาเฉลิมไทย (สร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม) ทำให้ถูกบดบังความงดงามของวัดและโลหะปราสาทที่อยู่ภายใน ทางกรุงเทพฯ ต้องการปรับภูมิทัศน์บนเกาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ใหม่จึงมีการทุบศาลาเฉลิมไทย (ปี 2532) และปรับบริเวณพื้นที่ด้านหน้าให้เป็นลานกว้าง (ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ - "กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์" คือ พระนามเดิมของรัชกาลที่ 3 ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์) มีพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 3 อยู่บริเวณด้านหน้าของวัด
|
โลหะปราสาท ภายในของโลหะปราสาท และพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 3
|
|
ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ (สองภาพด้านข้าง) และโลหะปราสาท (ภาพกลาง) |
|
บริเวณระเบียงภายในโลหะปราสาท (สองภาพด้านข้าง) ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมาย
และพระเสฎฐตมมุนี พระประธานภายในพระอุโบสถของวัดราชนัดดา
|
|
พระบรมสารีริกธาตุ (ภาพที่สองจากซ้าย) และพระพุทธรูปในชั้นต่าง ๆ |
สิ่งที่น่าสนใจของวัดราชนัดดาอยู่ที่โลหะปราสาทที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นแห่งที่สามของโลก สร้างขึ้นโดยสื่อถึงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาคือ มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึง พระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ แบ่งเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นจะมีระเบียงโดยรอบเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมาย เดินขึ้นแต่ละชั้นโดยผ่านบันไดเวียนตรงกลาง สู่ชั้นบนสุดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับพระอุโบสถ หน้าบันลงรักปิดทอง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย "พระเสฎฐตมมุนี" เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ สำหรับภายในพระวิหารนั้นเป็นที่ประดิิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร "พระพุทธชุติธรรมนราสพ" ซึ่งเป็นพระประธานของพระวิหาร เนื่องจากช่วงที่ไปเก็บภาพอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ จึงทำให้เก็บภาพรายละเอียดภายในวัดได้ไม่เต็มร้อยหากมีโอกาสจะไปเก็บภาพความสวยงามมาฝากเพิ่มเติมในคราวต่อ ๆไป
การเดินทาง : สามารถเดินทางโดยรถประจำทางที่ผ่านถนนราชดำิเนิน สาย 9,44,39,59,509
เป็นต้น
ต้องการสอบถามเส้นทางรถเมล์ โทร 184 หรือคลิ๊กที่ลิ้งค์ ขสมก.
ข้อแนะนำ : เปิดให้เข้าชมบริเวณวัดทุกวันเวลา 09.00 -20.00 น. บริเวณโบสถ์ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น.
ขอขอบคุณ : ข้อมูลการเดินทางจากหนังสือ “สะพายเป้ ขึ้นรถเมล์ ทัวร์กรุง” โดย รัตนวุฒิ เจริญรัมย์ สำนักพิมพ์อักษรข้าวสวย และข้อมูลวัดกัลยาณมิตรบางส่วนจากเว็บไซต์ วิกีพิเดีย
บัตรรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์มื้อค่ำ + ล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา
(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อเรือ์” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของเรือบุฟเฟ่ต์แต่ละแบบโดยละเอียด) |
|
|
|
|
|
|
โปรแกรมทัวร์อื่น ๆ ในเขตจังหวัดกรุงเทพฯ
(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อโปรแกรมทัวร์” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของโปรแกรมทัวร์แต่ละแบบโดยละเอียด) |
|
|
|
|
|
|
|